สินค้าที่เลือกมีหลายสเปค/สี/ราคา โปรดเลือกจากรายการด้านล่างแล้วคลิกปุ่ม "ใส่ตะกร้าสินค้า"

Basic การถ่ายภาพ


ดีไซน์ภาพด้วยรูรับแสง (Basic ตอนที่ 1/4)

เดี๋ยวนี้ กล้อง DSLR หรือ Mirrorless ไม่ได้ใช้กันแค่นักถ่ายรูปมืออาชีพแล้วนะ นักท่องเที่ยวทั่วไป นักถ่ายรูปมือสมัครเล่น ก็ซื้อมาใช้กันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง : D พอเห็นใช้กันเยอะๆ แบบนี้ก็เลยเกิดไอเดียว่า อยากจะช่วยสอนใช้กล้อง DSLR แบบง่ายๆ ให้คนที่ยังงงกับกล้อง (แบบที่พวกเราเคยเป็น) ใช้ฟังชั่นของมันตอบสนองกับการเก็บภาพได้ในระดับหนึ่ง

อาจจะไม่ได้เป็นการสอนแบบโปรฯ แต่เราแค่คาดหวังว่าจะมีประโยชน์บ้างกับคนที่เป็นมือใหม่ DSLR หรือ Mirrorless และพกเจ้ากล้องตัวเก่งของเราไปเที่ยวและเก็บภาพความทรงจำได้สมใจ สามารถอัพรูปในเฟสโชว์ได้ไม่อายใคร



เรื่องของวิธีการใช้กล้องแบบลงรายละเอียด ขอให้อ่านคู่มือที่เค้าให้มา เพื่อจะได้รู้ว่า อะไรอยู่ตรงไหน กดตรงไหน แบตเตอรี่อยู่ไหน ช่องใส่ Memory อยู่ไหน ลองนั่งอ่านดูก่อนนะคะ

งั้นจะขอเริ่มเลยแล้วกันค่ะ....

คนที่ได้ซื้อกล้อง DSLR มา ก็คงจะได้เคยลองค้นหาข้อมูลกันมาก่อนแล้วบ้างเล็กน้อย อาจจะเคยได้ยินคำว่า "ค่า F" "ค่ารูรับแสง" "Aperture" "Speed Shutter" "ISO" "ค่าความไวแสง" อะไรพวกนี้ คนที่ เป็นมือใหม่จริงๆ อาจจะสงสัยว่า มันคืออะไร??

การใช้กล้อง DSLR ในการถ่ายรูป องค์ประกอบหลัก ที่เราใช้ทุกครั้งจะมีดังนี้
1. รูรับแสง
2. Speed Shutter
3. ISO


องค์ประกอบทั้ง 3 นี้ สำคัญมากที่จะต้องเรียนรู้ความสัมพันธ์ของมัน เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน ทำบ่อยๆ ก็จะชินไปเองค่ะ รับรองว่าไม่ยากเลย งั้นเรามาทำความรู้จักกับองค์ประกอบที่ 1 ก่อนซึ่งก็คือ รูรับแสง

ภาพนี้คือ รูรับแสง ของกล้อง หรืออีกชื่อของมันคือ ค่า F
รูรับแสง พูดง่ายๆ คือ ท่อปล่อยให้แสงเข้า

ค่า F น้อย = รูกว้าง = แสงเข้ามาก
ค่า F มาก = รูแคบ = แสงเข้าน้อย




รูรับแสง ใช้ในการ ดีไซน์ภาพ ว่าจะให้ภาพของเราออกมาเป็นอย่างไร เคยได้ยินคำว่า "ชัดลึก" "ชัดตื้น" "หน้าชัด-หลังเบลอ" "หน้าเบลอ-หลังชัด" อะไรพวกนี้ใช่มั้ยคะ จะขอจัดกลุ่มคำเหล่านั้นแบบนี้นะคะ

ชัดลึก = ชัดทั้งภาพ
ชัดตื้น = ชัดเป็นบางส่วนของภาพ
ตัวอย่างเช่น "หน้าชัด-หลังเบลอ" "หน้าเบลอ-หลังชัด" "บางส่วนชัด บางส่วนเบลอ"

ภาพนี้ เป็นตัวอย่างของ ภาพชัดตื้น ในแบบ หน้าชัด-หลังเบลอ จะได้ภาพแบบนี้ ต้องตั้งค่า F น้อย



ภาพนี้ เป็นตัวอย่างของ ภาพชัดตื้น ในแบบ หน้าเบลอ-หลังชัด จะได้ภาพแบบนี้ต้องตั้งค่า F น้อย



ภาพนี้ เป็นตัวอย่างของ ภาพชัดลึก จะได้ภาพแบบนี้ ต้องตั้งค่า F มาก



แล้วจะกำหนดค่า F ที่ตรงไหนของกล้องกันละ เลือกโหมด AV (Aperture Value หรือของ Nikon คือ A) คือการให้ความสำคัญกับรูรับแสง



และก็เลือกปรับรูรับแสงได้ตามที่เราดีไซน์ภาพเลยค่ะ



โดยปกติ ค่า F จะเป็นตัวเลขที่เป็น Range ขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดของเลนส์ อย่างเช่น เลนส์ Fix 50 mm. ค่า F เริ่มต้นตั้งแต่ 1.8 ถึง 22 หรือ เลนส์ Wide 10-22 mm. ค่า F เริ่มต้นตั้งแต่ 3.5 ถึง 22 เป็นต้น ในรายละเอียด Spec ของเลนส์แต่ละตัว คงต้องลองไป Search ถามอากู๋ดูนะคะ

สำหรับการยกตัวอย่างวันนี้ จะขอใช้ เลนส์ Fix 50 mm แล้วกันค่ะ

ทีนี้ เราก็รู้แล้วว่า ค่า F หรือ รูรับแสง เอาไว้ทำอะไร จะยกตัวอย่างว่า ถ้าเราอยากได้ภาพชัดตื้น โดยจุดโฟกัสของเรา (ในวงกลม) จะชัด ที่เหลือจะเบลอ แบบนี้ ก็ตั้งค่า F ต่ำๆ อย่าง 1.8 ก็ต่ำที่สุดเลย ก็จะได้ภาพประมาณนี้ ถ้า เรารู้สึกว่า มันเบลอเกินไป อยากให้มีส่วนชัดกว่านี้ ก็ค่อยๆ ไล่ตั้งค่า F ค่อยๆ สูงขึ้นค่ะ



หรือหากว่าเราอยากได้ชัดทั้งภาพ ก็ตั้งค่า F สูงๆ ภาพนี้ทดสอบให้ดูว่า ถ้าตั้งแค่ F สูงสุดไปเลยคือ 22 ภาพจะออกมาเป็นยังไง ภาพที่ได้จะชัดทั้งภาพ โดยโฟกัสไปที่จุดที่วงกลมไว้ค่ะ



ตัวอย่างภาพชัดลึก ชัดตื่นในค่า F ต่างๆ กัน






จากภาพตัวอย่าง คงจะพอเห็นว่าค่า F ทำให้เกิด Effect ยังไงกับภาพแล้วใช่ไหมคะ ลองเอาไปซ้อมใช้กับกล้องของเราของเราดูนะคะ ทดสอบปรับค่า F น้อยๆแล้วถ่าย และไล่ลงไปเป็น F มากๆดู จะเห็นผลแตกต่างในภาพค่ะ แค่นี้เราก็สามารถดีไซน์สไตล์ภาพของเราด้วยรูรับแสง หรือค่า F ได้แล้วค่ะ

ติดตามอ่าน Basic การถ่ายรูปทั้ง 4 ตอนได้ที่ Link นี้ค่ะ
1. ดีไซน์ภาพด้วยรูรับแสง
2. ดีไซน์ภาพด้วยสปีดชัตเตอร์
3. ISO คืออะไร?
4. รูรับแสง - Speed Shutter - ISO เกี่ยวข้องกันยังไง?
สินค้าแนะนำ
x

ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในตะกร้า