สินค้าที่เลือกมีหลายสเปค/สี/ราคา โปรดเลือกจากรายการด้านล่างแล้วคลิกปุ่ม "ใส่ตะกร้าสินค้า"

Basic การถ่ายภาพ

มาถ่ายรูปด้วยฟิลเตอร์ Bokeh Art กันเถอะ

โบเก้เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ชอบ คนที่มาเล่นกล้อง DSLR ส่วนใหญ่ก็ด้วยเหตุผลว่าต้องการทำโบเก้ให้ได้สวยๆ แบบที่ไม่เคยทำได้ในกล้องคอมแพ็ค

คราวนี้เราลองมาทำโบเก้เป็นรูปร่างต่างๆ กันดู เพื่อเปิดโลกแห่งจินตนาการให้กว้างมากขึ้นไปอีกด้วยการทำ Bokeh DIY หรือ Custom Filter นั่นเอง



ภาพที่เราจะได้จะได้โบเก้ด้านหลังเป็นรูปแบบต่างๆ แบบนี้



ก่อนจะเริ่มทำการ Custom Bokeh เรามาทำความรู้จักกับโบเก้กันก่อนดีกว่า

โบเก้คืออะไร?

โบเก้ (Bokeh) มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่าเบลอ หรือ ฟุ้งๆ ส่วนใหญ่เราจะเข้าใจกันว่าเป็นลูกกลมๆ แสงๆใช่ไหม แต่จริงๆ แล้วทุกอย่างที่เบลอนั่นเค้าก็เรียกโบเก้



แต่โบเก้ที่จะมาทำเป็นรูปร่างต่างๆ เราจะต้องพึ่งแสงกลมๆ เบลอๆ แบบภาพด้านบน เพื่อให้เกิดเป็นรูปร่างต่างๆ ได้

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม วงเวียน กรรไกร คัตเตอร์ กระดาษอาร์ทสีดำ

ถ้าใครไม่อยากวาดเอง สามารถไป download แบบได้จาก Link นี้เลย อันนี้เป็นแบบที่เราทำไว้เล่นกันเอง สำหรับเลนส์หน้า 52 พวกเลนส์ 50 F1.8 ก็เอาไปใช้ได้เลย Download Bokeh Art Template



นี่คือภาพของฟิลเตอร์โบเก้เมื่อเสร็จสิ้น



เลนส์ที่ใช้ในครั้งนี้คือเลนส์ 50 F1.8 ซึ่งมีหน้าเลนส์ 52 mm.



สำหรับใครที่ไม่รู้ขนาดหน้าเลนส์ของตัวเอง ก็สามารถใช้ไม้บรรทัดวัดหน้าเลนส์ได้



แล้วก็กางวงเวียนเท่ากับเส้นรัศมี (เส้นผ่านศูนย์กลาง หาร 2)



จากนั้นก็วาดวงกลมลงในกระดาษโปสเตอร์



อย่าลืมวาดลิ้นสำหรับเวลาจะดึงฟิลเตอร์ออกจากหน้าเลนส์ด้วยหละ



ตัดตัวฟิลเตอร์ออกมา



ใช้แบบที่ print จากเว็บ samsungimaging.net มาตัดรูออกตามลายที่เราต้องการ



เอาแบบที่ได้มาวางทาบบนตัวกระดาษของเรา



แล้วร่างตามด้วยดินสอ



ตัดลายที่วาดออกด้วยคัตเตอร์ ก็เป็นอันจบพิธี



หรือใครมีหัวศิลป์ จะวาดเองก็ได้ แต่ขนาดของรูปทรงจะต้องไม่ใหญ่กว่ารูรับแสงนะ



วิธีใช้ก็ติดแผ่นฟิลเตอร์เข้าไปที่หน้าเลนส์แบบนี้



ถ่ายทดสอบดู จากเดิมไม่ได้ใส่ฟิลเตอร์ DIY



พอใส่ฟิลเตอร์ DIY รูปดาวเข้าไป ก็จะเห็นโบเก้เป็นรูปดาว




อุปกรณ์ที่ใช้
1. กล้อง (ยังต้องบอกอีกไหมฮึ)
2. เลนส์ทีมีรูรับแสงกว้าง เช่น 50 f1.8
3. แฟลชแยก หรือ แฟลชหัวกล้องก็ได้

อุปกรณ์เสริม
Prop ต่างๆ เช่น ดอกไม้, หมวก, หรือตัวกำเนิดแสงเพื่อทำโบเก้ เช่น ไฟเย็น, ปืนฟองสบู่

สถานที่
หาที่ที่มีไฟเยอะๆ จะได้เล่นอะไรได้หลากหลาย เช่น หน้าสยามพารากอน

ถ่ายด้วยโหมด M
เพราะแสงหน้าพารากอนค่อนข้างคงที่ และมีการยิงแฟลชช่วย เลยสามารถ set ค่าเดียวแล้วถ่ายได้ยาว

การตั้งค่ากล้อง
Speed Shutter : 1/50 (เพราะใช้เลนส์ทางยาวโฟกัส 50mm ถือด้วย speed ที่ต่ำกว่านี้ไม่ได้)
รูรับแสง : F1.8 (เพราะต้องการสร้างโบเก้ให้ได้มากที่สุด)
ISO : 1600 (วัดแสงดู ถ้าถ่ายแล้วมืดไปก็เพิ่มได้ ถ้าสว่างไปก็ลดลง)
White Balance : set นี้ทำการซ้อน layer เพราะต้องการฉากหลังออกน้ำเงินๆ แบบ night night เลยใช้ White balance กับฉากหลังด้วย Tungsten light ส่วนตัวแบบใช้ custom white balance โดยใช้ white balance tool ใน camera raw จิ้มที่ขอบเสื้อสีขาวๆ แล้วปรับสีตัวแบบให้ดู Vintage นิดหน่อย (จะมีสอนใน content ที่ลงลึกเรื่อง night portrait อีกที)

เทคนิคการสร้างโบเก้
โดยสรุปง่ายๆ ถ้าจะเกิดโบเก้เยอะๆ ต้องใช้รูรับแสงกว้างๆ ทางยาวโฟกัสยาวๆ และ อยู่ห่างจากฉากหลังมากๆ หน่อย และโบเก้แบบแสงวงๆ เท่านั้นที่จะเกิดเป็นรูปร่างตามหน้าฟิลเตอร์ที่เราตัดไว้



มุมที่เลือกเวลาถ่าย ก็ถ่ายมาให้มีความหลากหลาย มีระยะไกลบ้าง กลางบ้าง ใกล้บ้าง



แต่ไม่ว่าจะระยะไหน ก็ต้องเล่นระยะให้เกิดโบเก้ดีๆ อย่างภาพนี้ถ้าขยับกล้องไปทางขวาอีกนิด จะได้หลอดไฟที่ไม่ได้เป็นโบเก้มาด้วย อาจจะหลีกเลี่ยงมุมเอา



อันนี้เป็นภาพระยะกลาง



ภาพระยะกลางจะทำให้เกิดโบเก้ได้ง่ายกว่าระยะไกล เพราะเราเข้าใกล้แบบ ทำให้เราสามารถเบลอหลังได้มากกว่า



สังเกตุถ้าเทียบกับภาพระยะไกลด้านบนๆ ภาพระยะกลางจะมีโบเก้ที่ใหญ่กว่าระยะไกลด้วย





ภาพระยะใกล้ จะทำให้เราสร้างโบเก้ได้ง่ายที่สุด แม้ว่าแบบจะอยู่ใกล้กับไฟก็ตาม เพราะเราเข้าใกล้แบบมากขึ้น โบเก้หลังก็เกิดได้ง่ายขึ้น และโบเก้ก็ใหญ่ขึ้น แต่องค์ประกอบก็จะเห็นหน้าใหญ่ๆ เต็มเฟรม ทำให้เห็นเรื่องราวได้น้อยลง



อาจจะต้อง design ภาพดีๆ เพราะข้อดีคือเห็นโบเก้ใหญ่ขึ้น ชัดขึ้น แต่ตัวแบบจะติดเข้ามาอยู่ในเฟรมแบบใหญ่ๆ ด้วย













ไฟรถวิ่งก็สามารถทำเป็นโบเก้ได้นะ และการหมุนตัวฟิลเตอร์ สำหรับแบบที่มีทิศทางได้อย่างเช่นผีเสื้อ ก็จะสามารถสร้างเส้นได้ อย่างภาพนี้ติดผิดเสื้อให้เอียงๆ เป็นแนวเดียวกับถนน ทำให้เหมือนผีเสื้อบิน





รูปหัวใจก็ติดเอียงๆ ได้















set นั่งหันหลังนี่ ตอนถ่ายนึกว่าถ้ายโบเก้ไม่ได้ เพราะโบเก้มันเล็กมาก ดูผ่านจอ LCD มองไม่เห็นเป็นรูปร่าง แต่พอมาดูในคอมแล้วเราเห็นโบเก้ชัดเหมือนกัน แค่มันเล็กเท่านั้นเอง











เล่นกับ prop ที่ให้กำเนิดแสง เช่น ไฟเย็น โดยเคล็ดลับในการสร้างโบเก้คือ ต้องให้แบบถือไฟเย็นแล้วยืดแขนออกมาทางกล้อง ไฟเย็นจะได้เบลอ แล้วจะได้โบเก้





มันก็มีดีดเข้ามือให้เกิดความร้อนเหมือนกันนะ จ๊ากกกกกกก





















การใส่ฟิลเตอร์ DIY แบบนี้ และเอามาถ่ายไฟแบบนี้ ทำให้เลนส์เปื้อนโน่นนี่นั่นได้ง่าย ยังไงเลนส์ควรต้องใส่ฟิลเตอร์ Protector ด้วยนะคะ



สามารถมาช้อพพิ่ง Filter ของ Shop ได้ที่ Link นี้เลยจ้า ฟิลเตอร์ UV-Protect
สินค้าแนะนำ
x

ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในตะกร้า