สินค้าที่เลือกมีหลายสเปค/สี/ราคา โปรดเลือกจากรายการด้านล่างแล้วคลิกปุ่ม "ใส่ตะกร้าสินค้า"

เจาะลึกโบเก้ Bokeh

สินค้า
สถานะสินค้า
ราคา
จำนวน
สินค้าหมดชั่วคราว
* สินค้าที่มีสถานะ "รอยืนยัน" เป็นสินค้าที่ต้องเช็คสต็อคก่อน สามารถสั่งซื้อได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่จะตอบกลับใน 1 วันทำการ
รายละเอียดเพิ่มเติม
เจาะลึกโบเก้ Bokeh

เจาะลึกวิธีสร้างโบเก้ มาดูกันว่าไฟกลมๆ ข้างหลังตัวแบบ เราจะสร้างมันให้เห็นชัดๆ โตๆ ได้ยังไง





โบเก้คืออะไร?



มันคือภาษาญี่ปุ่น แปลว่าเบลอ เช่น ภาพที่ตัวแบบชัดฉากหลังบเบลอๆ ฉากหลังเบลอๆนั่นแหละ คือโบเก้ แต่วันนี้เราจะไม่ได้มาพูดเรื่องโบเก้เบลอๆธรรมดา เราจะมาพูดเรื่องโบเก้ไฟกลมๆ สวยๆที่อยู่ในฉากหลัง เราจะเรียกมันว่าโบเก้





โบเก้ที่สวยเป็นยังไง?


มันจะเป็นดวงกลมๆ ใหญ่ๆประมาณนึง ซึ่งขนาดของโบเก้ก็แล้วแต่ Design ภาพของเรา


โบเก้จะมีรูปร่างแบบไหนขึ้นอยู่กับ diaphragm ของเลนส์ เช่น เลนส์ 50F1.8 เป็น diaphragm 5 ใบ เวลาเปิด F แคบหน่อยจะได้โบเก้ห้าเหลี่ยม แต่โบเก้ของ 70-200 จะมี diaphragm มากกว่า 5 ใบ เลยได้โบเก้กลมๆ เลนส์ 40mm ก็ได้กลมๆเหมือนกันนะจ๊ะ





อะไรทำให้เกิดโบเก้บ้าง?


แน่นอนสุดๆ ขาดไม่ได้ จะมีโบเก้ได้ ต้องมีหลอดไฟอยู่ข้างหลังตัวแบบ หรือเทียนก็ได้ แต่หลอด LED เห็นง่ายสุด


แล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดโบเก้หละ?





ปัจจัยที่ 1. รูรับแสงกว้างๆ



ยิ่งรูรับแสงกว้างเท่าไร ก็ยิ่งเกิดโบเก้ได้ง่าย เช่น F1.8 หรือ F2.8





เรามาลองเทสกันดู


ทดสอบ F5.6 กับ F2.8 ปรับระยะโฟกัสที่ 70mm เท่ากัน ระยะห่างจากแบบเท่ากัน





โบเก้ที่ F5.6





โบเก้ที่ F2.8


จะเห็นว่า รูรับแสงกว้างทำให้เกิดวงโบเก้ใหญ่กว่า





ปัจจัยที่ 2. ระยะโฟกัสของเลนส์


ยิ่งทางยาวโฟกัสยาวๆ ก็ยิ่งได้โบเก้ง่าย





ทดสอบที่ระยะ 70mm กับ 200mm ที่ค่า F2.8 เท่ากัน





ระยะ 70mm





ระยะ 200mm


จะเห็นว่าที่ระยะ 200mm วงโบเก้มันจะใหญ่ขึ้น





ปัจจัยที่ 3. เข้าใกล้แบบมากๆ


ยิ่งเข้าใกล้มากเท่าไร ก็จะทำให้โบเก้ชัดขึ้น





ทดสอบที่ F2.8 ระยะโฟกัส 200m เท่ากัน จะเทียบเข้าใกล้แบบและห่างจากแบบ ดังนั้น composition ก็จะต่างกัน





ลองถ่ายไกลๆแบบดู





อันนี้เข้าใกล้แบบมากๆ


จะเห็นได้ว่า ยิ่งเข้าใกล้แบบได้มากเท่าไร โบเก้ก็ยิ่งเยอะ อย่างอันนี้เยอะจนซ้อนกันเลย


แต่! เราก็คงจะไม่ได้เน้นแต่จะสร้างโบเก้จนลืมดูองค์ประกอบของภาพนะจ๊ะ บางภาพเข้าใกล้เกินไปก็สื่อความหมายไม่รู้เรื่องนะ





ปัจจัยที่ 4. ระยะห่างระหว่างฉากหลังกับตัวแบบ


แบบยิ่งห่างจากฉากหลังมากเท่าไร โบเก้ยิ่งชัด





ทดสอบออกห่างจากฉากหลังเป็น 3 ระยะ ค่า F2.8 และซูมที่ 200mm เท่ากันตลอด





อันนี้ยืนติดหลอดไฟ LED เลย จะเห็นว่าแทบไม่เกิดโบเก้เลย





อันนี้ออกห่างมาประมาณนึง (เดินมาหลายก้าว) เริ่มเห็นโบเก้ชัดขึ้น





อันนี้เดินออกมาอีกหลายก้าว โบเก้ก็ใหญ่ขึ้นอีก


ดังนั้น ยิ่งแบบห่างจากฉากหลังมากเท่าไร ก็ยิ่งเกิดโบเก้ได้ง่ายเท่านั้น





สรุปดังนี้





แต่ว่า แต่ละคนมีอุปกรณ์ไม่เหมือนกันถูกปะ บางคนมีเลนส์ทางยาวโฟกัสยาว สั้นไม่เหมือนกัน รูรับแสงกว้างไม่เท่ากัน เราเลยจะลองเปรียบเทียบด้วยอุปกรณ์ที่ set ค่าที่แตกต่างกัน คือ เลนส์ทางยาวโฟกัสสั้น(50mm) แต่รูรับแสงกว้าง (F1.8) VS ทางยาวโฟกัสยาว (200mm) แต่รูรับแสงแคบ (F5.6)





อันนี้พยามให้ใกล้เคียงกับเลนส์ 55-250 เลยซูมที่ 200mm แล้วเปิดรูรับแสง F5.6





ส่วนอันนี้ใช้ 50mm เปิด F1.8


สรุปแล้ว คิดว่าได้ผลคล้ายๆกันนะ





แล้ว FullFrame VS ตัวคูณหละ ให้ผลที่ต่างกันมากไหม?


ใช้เลนส์ตัวเดียวกัน ทางยาวโฟกัส 200mm เปิด F2.8 เท่ากัน ทดสอบติดเข้ากับ fullframe กับ ตัวคูณ





อันนี้ Fullframe





อันนี้ตัวคูณ


เรารู้สึกว่ามันคล้ายๆ กัน ดูไม่ค่อยออกว่าต่างกันมากน้อยแค่ไหนนะ





สุดท้าย ถ้าคนที่มีเลนส์คิท 18-55 จะถ่ายได้สวยหรือป่าว?





เราเลยใช้ปัจจัยการเกิดโบเก้ทั้งหมด คือ ใช้ทางยาวโฟกัส 55mm เปิด F5.6 เข้าใกล้ตัวแบบ และให้ตัวแบบอยู่ห่างจากฉากหลังที่เป็นไฟเยอะๆ





ได้ประมาณนี้





สรุปว่า


เลนส์เทพๆ มันมักจะมากับ F กว้างๆ แต่จริงๆแล้ว ค่า F กว้างมันไม่ได้เป็นทั้งหมดของโบเก้ ถ้าเรารู้วิธีการสร้างโบเก้ ถึงไม่มีเลนส์เทพ เราก็ยังใช้เทคนิคอื่นๆช่วยในการสร้างโบเก้ได้นะจ๊ะ


โบเก้จงเจริญ เฮ!





สินค้าแนะนำ
x

ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในตะกร้า