สินค้าที่เลือกมีหลายสเปค/สี/ราคา โปรดเลือกจากรายการด้านล่างแล้วคลิกปุ่ม "ใส่ตะกร้าสินค้า"

วิธีจับกล้องและถือกล้องให้นิ่ง

สินค้า
สถานะสินค้า
ราคา
จำนวน
สินค้าหมดชั่วคราว
* สินค้าที่มีสถานะ "รอยืนยัน" เป็นสินค้าที่ต้องเช็คสต็อคก่อน สามารถสั่งซื้อได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่จะตอบกลับใน 1 วันทำการ
รายละเอียดเพิ่มเติม
วิธีจับกล้องและถือกล้องให้นิ่ง


กลับมาสู่ Basic กันหน่อย
Basic สุดๆของการถ่ายรูปคือ ภาพต้องคมชัด ภาพเบลอ = ภาพเสีย (ยกเว้นภาพที่เบลอแบบตั้งใจมี concept และคนดูเข้าใจได้)

Q : แล้วทำยังไงถึงได้ภาพคมชัดหละ?
A : ก็ใช้ขาตั้งกล้องไง

Q : ใครจะแบกขาตั้งไปทุกที่ล่ะ หนักตายเลย
A : ... เออเนอะ

เพราะเราไม่ได้พกขาตั้งกล้องไปกับเราด้วยทุกที่ และบางทีเราก็ไม่อยากดัน ISO ขึ้นไปสูงๆ ไงคะ

งั้นคราวนี้เราจะมาลงลึกกับการถือกล้องให้นิ่งด้วยกระบวนท่าต่างๆดีกว่า




ก่อนจะไปเรื่องท่าถือกล้อง เรามาดูวิธีจับกล้องให้มั่นคงกันก่อน

เราจะใช้มือขวาจับกล้อง มือซ้ายประคองกล้องด้านล่าง



ออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ



ภาพด้านใต้ตัวกล้อง นิ้วนางกับนิ้วก้อยจะประคองตัวกล้อง ส่วนนิ้วกลางกับนิ้วชี้จะประคองตัวเลนส์และนิ้วชี้สามารถทำให้ที่หมุนซูมเลนส์ได้



ถึงไม่ได้ใช้มือขวาจับกล้อง กล้องก็สามารถตั้งบนฝ่ามือซ้ายได้



การจับกล้องถ่ายภาพแนวตั้งก็คล้ายกัน โดยเราจะพลิกกล้องขึ้นมา ตัวกล้องก็ยังคงวางอยู่บนฝ่ามือซ้ายแบบนี้



สามารถถือด้วยมือซ้ายมือเดียวได้ และมีความมั่นคงพอค่ะ



ส่วนมือขวาก็ทำหน้าที่ประคองและควบคุมกล้อง



ภาพแนวตั้งเราก็ใช้ท่านี้ถ่ายได้



ส่วนท่านี้คิดว่าไม่ work คือไม่มีความมั่นคง และยังทำให้มือขวาของเราไม่อิสระที่จะควบคุมกล้องอีกด้วยค่ะ และมีความรู้สึกเหมือนกล้องมันจะตกได้ทุกเมื่อเลย



มาสู่ท่าทางการจับกล้องกันดีกว่า

ท่าแรกเป็นท่ามาตรฐาน ใครๆ ก็ใช้กัน ท่านี้คือ "ท่ายืน" การจับกล้องก็เหมือนที่บอกไป แต่จุดที่สำคัญ เน้นว่าสำคัญมากๆสำหรับท่านี้คือ ขาซ้ายต้องก้าวออกมาข้างหน้าเพื่อจะได้รับน้ำหนักของมือที่ถือกล้องได้

บางคนยืนถือกล้องก็จริง แต่ไม่ได้ก้าวขาซ้ายออกมา ก็ไม่ได้ความนิ่งแบบก้าวขาซ้ายออกมานะ เพราะจุดศูนย์ถ่วงมันไม่ได้

จากนั้น ศอกซ้ายขวาแนบลำตัวเพื่อให้เกิดความมั่นคง อย่าเกร็ง ทำให้สบายๆ ไม่งั้นเด๋วถือได้ไม่นาน

ก่อนลั่นชัตเตอร์ กลั้นหายใจนิดหน่อย สูดลมหายใจเข้าแล้วกลั้นหายใจ เพื่อความนิ่งค่ะ



มาเริ่มทดสอบความนิ่งกันดีกว่า

เลนส์ที่ใช้ทดสอบคือเลนส์ 100mm Macro F2.8 USM เป็นเลนส์ Fix ที่ระยะ 100mm

ระยะห่างระหว่างแบบประมาณ 6 เมตร

โดยปกติ เลนส์ตัวนี้จะถ่ายให้ชัดได้ขัวร์ๆ ที่ Speed Shutter 1/160* แต่ถ้าตามสูตรปกติของเราก็ 1/100

ขั้นตอนการทดสอบของเราจะใช้ Speed Shutter 1/100 แล้วทดลองลดมาเป็น 1/80 ไปถึง 1/60 ตามลำดับเพื่อดูว่า ท่าต่างๆ สามารถถือได้นิ่งที่สุดแค่ไหน

ท่ายืน
มาทดสอบที่ Speed Shutter 1/100





Speed Shutter 1/80





Speed Shutter 1/60





ท่ายืนถ่าย เป็นท่ามาตรฐานที่ใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา ควรต้องฝึกท่านี้เอาไว้ให้ดีๆ นะคะ

ท่านั่งตั้งเข่า

ท่านี้เราจะชันเข่าซ้ายขึ้นมาเพื่อรับน้ำหนักจากตัวกล้องที่ส่งผ่านแขนซ้ายลงมา



Speed Shutter 1/100





Speed Shutter 1/80





Speed Shutter 1/60





ท่านั่งตั้งเข่าค่อนข้างไม่ work เพราะเข่าและขาต้องรับน้ำหนักตัวเราเยอะ ทำให้เมื่อยและมีผลต่อสมาธิ และทำให้มือเราสั่นค่ะ

ท่านั่งชันเข่า
ท่านี้จะนั่งลงไปกับพื้น ชันเข่าทั้ง 2 ข้างขึ้นมา เอาศอกทั้ง 2 ข้างวางบนเข่า ถ่ายเทน้ำหนักจากกล้องลงมาที่แขน 2 ข่างและผ่านลงมาที่เข่า



Speed Shutter 1/100





Speed Shutter 1/80





Speed Shutter 1/60





ท่านั่งชันเข้าก็เป็นอีกท่าที่ทำ Speed Shutter ได้ช้าพอสมควร ก็ถือว่าทำให้มือนิ่งได้ระดับนึงเลยล่ะ

ท่านอน
นอนราบไปกับพื้น ตั้งศอกขึ้นมา ถ่ายเทน้ำหนักจากกล้องลงทั้ง 2 แขนเท่าๆ กัน ท่านี้ก่อนจะใช้ต้องดูสถานที่ก่อนด้วย โดยเฉพาะกลางพื้นปูนแดดร้อนๆอาจจะสุกได้ อิอิ



Speed Shutter 1/100





Speed Shutter 1/80





Speed Shutter 1/60





ท่านอนทำให้ได้ Speed Shutter 1/60 ในขณะที่ท่าอื่นๆไม่สามารถทำได้เลย แต่แน่นอนว่า เราไม่สามารถไปนอนได้ทุกที่หรอก

ใช้บ่าเพื่อน
ท่านี้ง่ายๆ ให้เพื่อนยืนตัวตรงๆ พาดปากกระบอกเลนศ์ไว้ที่ไหล่ ให้สัญญาณกลั้นหายใจพร้อมกัน แล้วถ่าย สำคัญมากๆ ห้ามขำ เพราะจะทำให้ภาพเบลอ!



Speed Shutter 1/100





Speed Shutter 1/80





Speed Shutter 1/60





ใช้บ่าเพื่อน จริงๆจะ work หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสมานสามัคคีของเราและเพื่อนแหละ

ท่าพิงต้นไม้
เอากล้องแนบกับต้นไม้ หรือเสาที่ตั้งตรงๆ ล็อคตัวเองไว้กับต้นไม้เลย กดกล้องเพื่อให้ถ่ายเทน้ำหนักเข้าต้นไม้ค่ะ



Speed Shutter 1/100





Speed Shutter 1/80





Speed Shutter 1/60





การใช้ต้นไม้เป็นอีกท่านึงที่ค่อนข้างมั่นคง :D

ท่าวางบนเสา
หาเสาเตี้ยๆ หรือ โต๊ะ หรือ อะไรราบๆ ที่สามารถวางกล้องได้ วางกล้องไว้เลย และใช้นิ้วสอดไว้ใต้เลนส์เพื่อปรับทิศทางของภาพ



Speed Shutter 1/100





Speed Shutter 1/80





Speed Shutter 1/60





Speed Shutter 1/30





จะสังเกตว่า ท่าวางบนเสาจะได้ Speed Shutter ที่ต่ำมากๆ เพราะเสาก็เหมือนขาตั้งกล้อง มีความนิ่งอยู่พอสมควร แต่ใช่ว่าทุกที่จะมีเสา ถึงมีเสา ก็ใช่ว่าเสาจะอยู่ในจุดที่เราต้องการ

ท่าถือกล้องถ่ายแนวตั้งอีกท่า

เปลี่ยนจากท่าถือกล้องตอนแรกที่เอาชัตเตอร์ไว้เด้านบน มาไว้ด้านล่าง ศอกกระชับลำตัว เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่ไม่ถนัดท่าถ่ายแนวตั้งท่าแรก



ฝึกท่าการถ่ายรูปหลายๆ ท่าให้ชำนาญ แล้วเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานะการณ์ สถานที่ และโอกาสให้ถูกต้องนะคะ

* จากข้างบน ทำไมถึงบอกว่าเลนส์ 100mm น่าจะถ่ายที่ Speed Shutter 1/160?

หลายคนอาจจะจำได้ว่า ใช้เลนส์ทางยาวโฟกัสเท่าไร เราต้องได้ Speed Shutter ตามนั้น เช่น เลนส์ 50mm ต้องใช้ Speed Shutter 1/50 ใช่มั้ยคะ

แต่อย่าลืมว่า กล้องที่เราใช้ (Canon 500D) เป็นกล้องตัวคูณ 1.6 (Crop Sensor) ทางยาวโฟกัสของเลนส์ 50 บนกล้อง 500D จะได้ทางยาวโฟกัสจริง 80mm ซึ่งเราน่าจะถ่ายที่ 1/80 เพื่อจะได้ภาพชัวร์ๆ แต่.... 1/80 กับ 1/50 ไม่ได้ห่างกันมากนัก เรียกว่าถือที่ 1/50 ก็ถ่ายได้ภาพชัวร์ๆ แต่เลนส์ 100mm บนกล้องตัวคูณทำให้ได้ระยะเพิ่มเป็น 160mm ค่ะ ดังนั้น Speed ที่ควรจะใช้ก็คือ 1/160 ซึ่ง ถ้าเราถ่ายที่ 1/100 โอกาสเบลอมีมากพอสมควร เลข Speed Shutter ที่เพิ่มเข้ามา 60 มีผลต่อภาพที่มีโอกาสเบลอพอสมควร ซึ่งสำหรับเลนส์ 50mm มันคูณมาแล้วเพิ่มมาแค่ 30 ไม่ค่อยมีผลเท่าไรค่ะ

สินค้าแนะนำ
x

ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในตะกร้า