สินค้าที่เลือกมีหลายสเปค/สี/ราคา โปรดเลือกจากรายการด้านล่างแล้วคลิกปุ่ม "ใส่ตะกร้าสินค้า"

Function การวัดแสงในกล้อง

สินค้า
สถานะสินค้า
ราคา
จำนวน
สินค้าหมดชั่วคราว
* สินค้าที่มีสถานะ "รอยืนยัน" เป็นสินค้าที่ต้องเช็คสต็อคก่อน สามารถสั่งซื้อได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่จะตอบกลับใน 1 วันทำการ
รายละเอียดเพิ่มเติม
Function การวัดแสงในกล้อง

การวัดแสง ฟังตอนแรกๆ มันก็จะรู้สึกว่า มันคืออะไรน๊า ยากจัง ตอนแรกเก้าก็รู้สึกแบบนี้ค่ะ และก็ไม่สนใจ ทำเป็นไม่รู้ว่า มีฟังชั่นนี้อยู่ในกล้อง อิอิ






แต่เมื่อเราถ่ายรูปมาระดับหนึ่งแล้ว และถ่ายมามากๆ เข้า เราจะปฏิเสธที่จะเรียนรู้มันไม่ได้หรอกค่ะ เพราะมันค่อนข้างมีประโยชน์มากทีเดียว

งั้นเรามาเริ่มเรียนรู้การวัดแสงกันเลยนะคะ : D สู้ๆ..

ก่อนอื่น... มาทบทวนกันซักเล็กน้อยนะคะ กล้องมีวิธีการวัดแสงคือ จะ Convert ภาพสีให้กลายเป็นขาวดำและปล่อยให้แสงเข้ามาที่ภาพในระดับเทากลาง หรือเทา 18% ซึ่งค่านี้กล้องมองว่ามันพอดี และกล้องมีวิธีการคำนวณหาค่าเทากลาง ทั้งหมด 4 แบบ คือ
1. เฉลี่ยทั้งภาพ (Evaluative)
2. เฉลี่ยหนักกลาง (Center Weighted)
3. เฉพาะจุด (Spot)
4. เฉลี่ยเฉพาะส่วน (Partial)

มาเริ่มกันที่ เฉลี่ยทั้งภาพ
- กล้องคำนวณหาเทากลาง โดยนำพื้นที่ทั่วทั้งภาพมาคำนวณ (จากภาพด้านล่างนี้คือ ตรงบริเวณสีชมพู)
- เหมาะกับการถ่ายภาพในสภาพแสงที่ไม่ซับซ้อน พูดง่ายๆ คือ บริเวณสภาพแสงที่มันไม่ได้มืด หรือสว่างตัดกันโช๊ะเช๊ะ ไม่ว่าจะเป็นภาพวิว หรือภาพคนก็ได้

วิธีการ set การวัดแสง เราจะกดตรงนี้ค่ะ มันจะอยู่ข้างๆ กับการ Set white balance นั่นแหล่ะค่ะ



เลือก set การวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ เก้าว่าคงจะคุ้นตาอยู่แล้วใช่มั้ยคะ



จริงๆ แล้วเราใช้มันมาเป็นค่า Default ตั้งแต่เราซื้อกล้อง ตั้งแต่ก่อนที่เราจะรู้จักมันด้วยซ้ำ จริงๆ แล้วทีม iLove เองก็ใช้การวัดแสงแบบนี้มาตลอด จนกระทั่งเราเริ่มเกิดปัญหานั่นแหละค่ะ เราถึงเริ่มจะลองใช้การวัดแสงวิธีอื่นดูบ้าง

ที่นี่เรามาดูแบบที่ 2 กัน เฉลี่ยหนักกลาง
- กล้องจะนำบริเวณพื้นที่เฉพาะกลางภาพมาคำนวณหาค่าเทากลาง (ตรงวงกลมสีชมพูตรงกลาง) ส่วนบริเวณรอบๆ จะนำมาเฉลี่ยหาเทากลางด้วย (บริเวณส้นสีชมพูจางๆ)
- การวัดแสงแบบนี้ จะกินพื้นที่ประมาณ 60-75% ของภาพ
- เหมาะกับการถ่ายภาพ Portrait เช่น ภาพคน หรือภาพดอกไม้ คือตัวแบบที่เราจะถ่ายใหญ่พอสมควร และอยู่ในสภาพแสงที่ไม่ซับซ้อน จะว่าไป เก้าว่าก็เหมาะกะมือใหม่นะคะ ถ้าเรารู้ตัวว่า เราจะถ่ายภาพ Portrait แน่นอน เราก็ใช้การวัดแสงแบบนี้ไปเลยก็ได้ค่ะ

อย่างภาพดอกไม้นี้ ก็ใช้วิธีการวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง คือตัวแบบหลักของเราคือดอกไม้สีขาว และมี Background เป็นใบไม้สีเขียว



เลือก set การวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง



การวัดแสง เฉพาะจุด
- กล้องจะนำบริเวณเพียงแค่จุดเล็กๆ กินพื้นที่แค่ 10% ของภาพ หรือน้อยกว่านั้นมาคำนวณหาเทากลาง
- เหมาะกับการนำมาใช้วัดแสงในสภาพแสงที่ซับซ้อน เช่น เวลาเที่ยง ใต้ต้นไม้ หรือในร้านอาหารไฟสลัว ที่นั่งติดหน้าต่างเวลาเที่ยง เป็นต้น


โดยส่วนตัวเก้า คิดว่า การวัดแสงแบบนี้ จะค่อนข้างยาก สำหรับมือใหม่ เพราะว่า อย่างที่บอกว่า จุดที่กล้องจะนำมาคำนวณ ค่าเทากลาง มีเพียงแค่ 10% ของภาพ ถือว่าเล็กมาก คือถ้าพลาดหรือมองผิด ก็จะทำให้ภาพแสงผิดเพี้ยนไปค่ะ

เลือก Set วิธีการวัดแสงเฉพาะจุด



มาถึงการวัดแสงแบบสุดท้าย เฉลี่ยเฉพาะส่วน
เป็นการวัดแสงที่เพิ่มเข้ามาทีหลังสุด วิธีการคำนวณ จะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อของกล้องด้วย อย่างของ Canon เท่าที่เก้าอ่านมา เค้าบอกว่า การวัดแสงแบบนี้เหมาะกับการถ่ายภาพที่ แบบหรือ Object มืดกว่า Background และมันจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนักระหว่าง เฉลี่ยหนักกลางกับเฉลี่ยเฉพาะส่วน ดังนั้น เก้าจึงขอหยุดไว้แค่นี้ค่ะ เพราะเก้าเองยังไม่ได้สัมผัสมันมากับมือ ก็เลยจะอธิบายไม่ถูก


เลือก set การวัดแสงแบบเฉลี่ยเฉพาะส่วน จริงๆ แล้ว ถ้าใครมีความรู้เคยใช้งานฟังชั่นนี้ ก็มาเขียนเพิ่มเติมกันได้นะคะ



โดยปกติ ทีม iLove จะใช้วิธีการวัดแสงแบบ เฉลี่ยทั้งภาพ และเฉพาะจุดเป็นส่วนใหญ่ค่ะ และที่บ่อยสุดเลยคือเฉลี่ยทั้งภาพ จะใช้เฉพาะจุด ก็ต่อเมื่อการวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพเกิดปัญหา และมันก็มักจะเกิดในสภาพแสงที่ซับซ้อน อย่างที่บอกไปตอนต้น

อย่างภาพนี้ เก้าถ่ายเวลาเที่ยง แบบยืนในร่ม เก้ายืนถ่ายอยู่กลางแดด และตั้งค่าวัดแสงเป็นแบบเฉลี่ยทั้งภาพตามที่ถนัด ปรากฎว่า ตัวแบบมืด และเหมือนว่าภาพทั้งภาพมันจะดูมืดๆ ไปด้วย ซึ่งแบบนี้ มันก็คงไม่โอเค ถ้าเราอุตส่าห์ไปเที่ยวถึงต่างประเทศแต่เราได้ภาพมืดๆ กลับมาถูกมั้ยคะ วิธีการวัดแสงเฉพาะจุด ช่วยได้ค่ะ



ภาพนี้ได้มาหลังจากที่เก้าถ่ายภาพแบบวัดแสงเฉพาะจุด ที่เดียวกัน เวลาเดียวกัน แต่ภาพนี้ได้แสงกลับมาทำให้เห็นตัวแบบชัดขึ้น และเห็น Background ชัดขึ้นตามไปด้วยค่ะ (ต้องขอออกตัวล้อฟรี ขอโทษด้วยจริงๆ ที่ภาพนี้ เก้ามือสั่นไปหน่อย อิอิ ภาพก็เลยเบลอค่ะ แฮะ ๆ ^_^'' )



ทีนี้ การวัดแสงแบบนี้ ต้องใช้ทักษะ ประสบการณ์ และความเข้าใจธรรมชาติของแสง ว่าบริเวณไหนในภาพที่ค่าแสงดูเป็นเทากลาง หรือเทา 18%

เอาวิธีง่ายๆ ของคนเรียนศิลปะตอนเด็กๆ บอกว่า ให้เราหยีตามอง เราจะเห็นน้ำหนักของสี จะทำให้เราพอมองเห็นว่า ถ้ามองเป็นภาพขาวดำ ตรงส่วนไหนจะเป็นสีเทา หรือ
จากประสบการณ์ของคนที่ถ่ายภาพ Portrait บอกว่า เค้ามักจะใช้ผิวของตัวแบบนี่แหล่ะในการวัดแสง เค้ามองว่า ผิวของคน ต่อให้ขาว ก็จะไม่ขาวกว่าสีขาว หรือผิวดำ ก็จะไม่ดำไปกว่าสีดำแน่นอน เค้าก็เลยใช้ผิวของตัวแบบนี้แหล่ะค่ะในการวัดแสง แต่ถ้ากรณีตัวแบบผิวดำ ใส่เสื้อสีขาว ใส่กางเกงยีนส์ เค้าจะวัดแสงที่กางเกงยีนส์

จากกรณีนี้ เก้าก็เลยวัดแสงที่กางเกงยีนส์คะ เนื่องจากผิวของแบบตัวจริงขาวมาก และใส่เสื้อยืดสีดำ จริงๆ แล้ว เก้าน่าจะลองวัดแสงที่ผิวของแบบด้วย แล้วดูว่า วัดแสงตรงไหนดูดี ดูสมจริงกว่ากันค่ะ

เก้าหวังว่า Content นี้จะมีประโยชน์กับใครหลายๆ คนนะคะ เก้าพยายามจะทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เพื่อให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ไม่กลัวที่จะลองทำความเข้าใจ และลองไปทดลองใช้กันดูค่ะ

สรุปการวัดแสงและ Lock ค่าแสงดังนี้

1. วิธีการวัดแสง คือการหันหรือ point กล้องไปจุดที่เราจะวัด โดยไม่ต้องกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึง
2. หากวัดแสงเสร็จแล้ว ต้องล็อกแสงทุกครั้งด้วยปุ่ม AE Lock (นั่นคือ หันกล้องไปในจุดที่ต้องการ แล้วกดปุ่มล็อกแสงเลย (AE Lock))
3. ถ้าเลือกการวัดแสดงแบบจุด จุดนั้นต้องต้องเป็นจุดที่อยู่กลางสุดของเลนส์
สินค้าแนะนำ
x

ตะกร้าสินค้า

ไม่พบสินค้าในตะกร้า